เมนู

โอฆวรรควรรณนาที่ 13



พึงทราบวินิจฉัยในโอฆวรรค.
บทว่า กาโมโฆ ได้แก่ ความกําหนัดด้วยความพอใจในกามคุณ 5.
บทว่า ภโวโฆ ได้แก่ ความกําหนัดด้วยความพอใจในรูปราคะและอรูปราคะ.
บทว่า ทิฎฺโฐโฆ ได้แก่ ทิฏฐิ 62. บทว่า อวิชฺโชโฆ ได้แก่ ความ
ไม่รู้ในอริยสัจ 4. แม้ในกามโยคะเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.
บทว่า กามุปาทานํ ได้แก่ การยึดถือกาม. แม้ในบทมีบทว่า
ทิฏฺฐุปาทา เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
บทว่า คนฺถา ได้แก่ เครื่องร้อยรัด คือติดแน่น. บทว่า กาย-
คนฺโถ ได้แก่ เครื่องร้อยรัดแห่งนามกาย คือกิเลสเครื่องร้อยรัดแน่น.
บทว่า อิทํ สจฺจาภินิเวโส ได้แก่ ยึดมั่นอย่างนี้ว่า นี้แหละจริง เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจอันตคาหิกทิฎฐิ. บทว่า กามราคานุสโย ความว่า ชื่อว่า
กามราคานุสัย เพราะอรรถว่า ไปด้วยกําลัง แม้ในสูตรที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
บทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า
สญฺโญชนานิ ได้แก่ เครื่องผูกมัด. บทว่า อุทฺธมฺภาคิยานิ ได้แก่
สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง. สูตรที่เหลือในที่ทั้งปวงมีความง่ายทั้งนั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
จบโอฆวรรควรรณนาที่ 13
จบอรรถกถามัคคสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โอฆสูตร 2. โยคสูตร 3. อุปาทานสูตร 4. คันถสูตร
5. อนุสสยสูตร 6. กามคุณสูตร 7. นีวรณสูตร 8. อุปาทานขันธสูตร
9. โอรัมภาคิยสูตร 10. ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร 11. ทุติยอุทธัมภาคิยสูตร

โพชฌงคสังยุต



ปัพพตวรรคที่ 1



1. หิมวันตสูตร



ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย


[355] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์
มีกายเติบโต มีกําลัง ครั้นกายเติบโต มีกําลังขุนเขานั้นแล้ว ย้อมลงสู่
บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้ว ย้อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้ว
ย่อมลงสู่แม้น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำใหญ่ ครั้นลงสู่
แม่น้ำใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้น ย่อมถึงความโตใหญ่
ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์
ในธรรมทั้งหลง ฉันนั้นเหมือนกัน.
[356] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่
ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ย่อมเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ . . . วิริยสัมโพชฌงค์. . . ปีติ
สัมโพชฌงค์. . . ปัสสัทธิสัมโพชณงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ 7
กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรม
ทั้งหลาย.
จบหิมวันตสูตรที่ 1